วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิของฉัน



 

วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
 

      เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการสังคม ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณธรรม คุณภาพ และทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมไทย และประเทศไทย  วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นเลิศทางความคิด (ปัญญาและความดี) ทางวิชาการ (ความรู้ สู่อาชีพ) และการดำรงชีวิต (การปฏิบัติสู่ความสุข) ควบคู่กันไปทั้งสามด้าน เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยคุณภาพแห่งชีวิต



     จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้บริหารและคณะอาจารย์ในกลุ่มโรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ  ซึ่งมีทั้งหมด 6 โรงเรียน ได้แก่
1.  โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ
2.  โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ
3.  โรงเรียนโปลีเทคนิคระยอง
4.  โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจกาญจนบุรี
5.  โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ
6.  โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ  ชลบุรี  

ตระหนักถึงความสำคัญของการให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษา และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติจึงจัดตั้ง วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาแห่งใหม่ขึ้นในเขตลาดกระบัง  กรุงเทพมหานคร




ที่ตั้ง  489 ถ.ประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทรศัพท์  : 0 2172 9623 - 6
โทรสาร   : 0 2172 9620
ปณิธาน  : พัฒนาความรู้ คู่คุณธรรม มีความสุข รักความเป็นไทย
ชุดฟอร์มนักศึกษาของวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ







หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู

ปรัชญาของหลักสูตร
      วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ  เป็นสถาบันหนึ่งที่ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพครูให้มีคุณภาพ  จึงเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู  เพื่อตอบสนองความจำเป็น  รวมทั้งผู้ที่สนใจศึกษาเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ในวิชาชีพครูในทุกสาขาวิชา

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 
1. เพื่อให้มีความรู้  และประสบการณ์ในวิชาชีพครู  แก่ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี  มีคุณวุฒิตามมาตรฐานความรู้  และประสบการณ์วิชาชีพของคุรุสภา
2. เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่ และพัฒนาเส้นทางวิชาชีพครูให้มีความก้าวหน้า
3. เพื่อสร้างศรัทธาและจรรยาบรรในวิชาชีพครู
4. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูในโรงเรียน  และผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาเพื่อนำความรู้ไปประกอบวิชาชีพ

หลักสูตรการศึกษา
- หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรเรียนไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต (สำหรับผู้ที่ประกอบวิชาชีพครู)
- หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรเรียนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต (สำหรับผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพครู)


วิชาที่เปิดสอน                                                                       หน่วยกิต
   GDT 405     ความเป็นครู                                                       3 หน่วยกิต
   GDT 404     จิตวิทยาสำหรับครู                                                3 หน่วยกิต
   GDT 401     ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู                                3 หน่วยกิต
   GDT 402     การพัฒนาหลักสูตร                                              3 หน่วยกิต
   GDT 403     การจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการในห้องเรียน    3 หน่วยกิต
   GDT 406     การวิจัยทางการศึกษา                                            3 หน่วยกิต
   GDT 407     นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารทางการศึกษา                3 หน่วยกิต
   GDT 408     การวัดและการประเมินผลทางการศึกษา                   3 หน่วยกิต

  **  สำหรับผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพครูศึกษาเพิ่มเติม ** 
   GDT 409     การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 1                               3 หน่วยกิต
   GDT 410      การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2                              3 หน่วยกิต


  ** หลักสูตรได้รับการรับรองจากคุรุสภา **


ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
     ผู้เข้าศึกษาต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการศึกษาตลอดหลักสูตร 9 เดือน  โดยแบ่งชำระ
เป็น 3 งวด
     งวดที่ 1     10,000  บาท
     งวดที่ 2     10,000  บาท    
     งวดที่ 3     5,000    บาท



สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู
     1. ด้านเนื้อหาสาระในการเรียนรู้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพครูได้เป็นอย่างมาก
       2. ด้านอาคารสถานที่  วิทยาลัยจัดห้องเรียนได้เหมาะสม  โดยเฉพาะวิชาที่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์  วิทยาลัยจะมีให้พร้อม 1 คน ต่อ 1 ตัว  ถือว่าเหมาะสมที่สุด  ส่วนสถานที่ตั้งของวิทยาลัย บรรยากาศดีมาก 
       3. อาจารย์ผู้สอนแต่ละวิชา  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน  สามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างเหมาะสม
       4. เพื่อนๆในห้องเรียน 65 คน  ทุกคนน่ารัก เป็นกันเอง 
        
     



วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ของธอร์นไดค์


เทคโนโลยีการศึกษาของธอร์นไดค์




        ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike.1874-1949)
     นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวอเมริกาผู้ให้กำเนิดทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ที่เชื่อในเรื่องของทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) ธอร์นไดค์ ได้ศึกษาเรื่อง การเรียนรู้ของสัตว์ และต่อมาได้กลายมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ทั่วไปโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในนามทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ในเรื่องนี้ นอกจากธอร์นไดค์จะได้ย้ำในเรื่องการฝึกหัดดหรือการกระทำซ้ำแล้ว เขายังให้ความสำคัญของการให้รางวัลหรือการลงโทษ ความสำเร็จหรือความผิดหวังและความพอใจหรือความไม่พอใจแก่ผู้เรียนอย่างทัดเทียมกันด้วย  ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เน้นที่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response)ที่ชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการที่มนุษย์หรือสัตว์ได้เลือกเอาปฏิกิริยาตอบสนองที่ถูกต้องนั้นมาเชื่อมต่อเข้ากับสิ่งเร้าอย่างเหมาะสม หรือการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ โดยการสร้างสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  เรียกทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ว่า ทฤษฎีเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับตอบสนอง (S-R Bond Theory) หรือทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionisms Theory) จากการทดลองและแนวความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ดังกล่าวมาข้างต้น เขาได้เสนอกฎการเรียนรู้ที่สำคัญขึ้นมา 3 กฎ อันถือว่าเป็นหลักการเบื้องต้นที่นำไปสู่เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนกฎทั้ง 3 ได้แก่
      1. กฎแห่งการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ (The Law of Exercise or Repetition) ชี้ให้เห็นว่า การกระทำซ้ำหรือการฝึกหัดนี้ หากได้ทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะทำให้การกระทำนั้น ๆ ถูกต้องสมบูรณ์และมั่นคง
      2. กฎแห่งผล (The Law of Effect) เป็นกฎที่มีชื่อเสียงและได้รับความสนใจ
มากที่สุด ใจความสำคัญของกฎนี้ก็คือรางวัลหรือความสมหวัง จะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรม
นั้นมากขึ้น แต่การทำโทษหรือความผิดหวังจะลดอาการแสดงพฤติกรรมนั้นลง
     3. กฎแห่งความพร้อม (The Law of Readiness) กฎนี้หมายถึงความพร้อม
ของร่างกาย ในอันที่จะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมา

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สรุปงาน GDT407 ครั้งที่ 1

เทคโนโลยีและนวตกรรม


เทคโนโลยี เป็นการนำเอาวิธีการ แนวคิดใหม่ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบในการพัฒนาและปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จากการขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์ของต่างๆให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์สูงสุด


เทคโนโลยีต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ
       1. ข้อมูล ( Input ) ได้แก่ การกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
       2. กระบวนการ ( Process ) ได้แก่ การลงมือแก้ปัญหา แจกแจงวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
       3. ผลลัพธ์ ( Output ) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาและทำการประเมินผล

นวัตกรรมทางการศึกษา  คือการนำสิ่งใหม่ๆซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยหลัการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาใช้บังเกิดผล เพิ่มพูนประสิทธิภาพการเรียนรู้ นวัตกรรมช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ


ประเภทของนวตกรรมทางการศึกษา จัดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
       กลุ่มที่ 1 คือ จัดการเรียนรู้ เทคนิคการสอนแบบต่างๆ เช่น การสอนแบบร่วมมือร่วมใจ การสอนแบบเกม
       กลุ่มที่ 2 คือ สื่อการสอน หรือสื่อการเรียนรู้ สื่อสิ่งตีพิมพ์ เอกสารประกอบการสอน บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน บาเรียนการ์ตูน



ทฤษฎีแนวคิดที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวตกรรมทางการศึกษา


       1. แนวคิดพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคล นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวคิดพื้นฐานนี้ เช่น การเรียนแบไม่แบ่งชั้น การเรียนสำเร็จรูป
       2. แนวคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม  นวัตกรรมที่สนองแนวคิดพื้นฐานด้านนี้เช่น ศูนย์การเรียน ( Learning Center )  การจัดการโรงเรียนในโรงเรียน ( School within School ) การปรับปรุงการสอรสามชั้น ( Instructional Development in 3 Phases )
       3. แนวคิดพื้นฐานการขยายตัวทางวิชาการ และอัตราการเพิ่มประชากร นวัตรกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยเปิด การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรศัพท์


หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
       1. นวัตรกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นได้ชัดกว่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
       2. นวัตรกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่
       3. มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่าสามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้
       4. นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง


ขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ
       1. ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น ( Innovation ) เป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
       2. ระยะที่ 2 พัฒนา ( Development ) มีการทดลองในเหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน ( Pilot Project )
       3. ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติ ( Innovation ) สถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์